มารู้จักพื้นที่ตั้งก่อนสร้างร้านว่าอยู่ในพื้นที่สีใดในผังเมือง....
“ผังเมือง” หรือแผนผังที่กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน และการจัดกิจกรรมในแต่ละประเภทที่ดินอย่างเหมาะสม โดยแบ่งออกเป็นประเภทสีต่างๆ และในส่วน “ผังเมืองกรุงเทพฯและปริมณฑล” มีการแบ่งประเภทที่ดินตามลักษณะการใช้งานออกเป็น 6 ประเภทได้แก่ ที่ดินประเภทอยู่อาศัย , พาณิชยกรรม , อุตสาหกรรม , อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม , อนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์และศิลปวัฒนธรรมไทย , สถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
วันนี้ V45 GROUP จะมาเล่าในส่วนของประเภทที่ดินที่สามารถทำธุรกิจร้านค้าได้
1. ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม
โดยมี “สีแดง” เป็นตัวแทนพื้นที่ที่มีจุดประสงค์เพื่อการพาณิชย์ และมีข้อจำกัดน้อยกว่าที่ดินสีอื่น โดยมีรหัสกำกับเป็น พ.1-พ.5 ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็แตกต่างกันไปตามลักษณะของทำเลที่ตั้ง
ที่ดินที่สามารถทำเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจ การค้า บริการ และนันทนาการหรือทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ จะใช้รหัสกำกับเป็น พ.4 - พ.5 ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ตั้งอยู่ในเขตการให้บริการของระบบขนส่งมวลชน ทำให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย
2. ที่ดินประเภทอุตสาหกรรม
โดยมี “สีม่วง” เป็นตัวแทนของที่ดินประเภทนี้ และมีรหัสกำกับคือ อ.1-อ.3 โดยสามารถสร้างร้านค้าได้ แต่ไม่สามารถสร้างอาคารสูงกับอาคารชุดขนาดใหญ่ได้ และที่ดินแต่ละรหัสก็มีข้อจำกัดแตกต่างกัน เช่น อ.1 ใช้สำหรับประกอบกิจการที่มีมลพิษน้อย, อ.2 เน้นอุตสาหกรรมการผลิต ส่วน อ.3 ถูกกำหนดให้เป็นสีเม็ดมะปราง ใช้เป็นพื้นที่คลังสินค้าสำหรับการขนส่ง
3. ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
ใช้ “สีน้ำเงิน” เป็นตัวแทนในพื้นที่ และ มีรหัสกำกับด้วยตัวอักษร คือ ตัว ส. ซึ่งพื้นที่นี้เป็นที่ดินของรัฐ ซึ่งเป็นสถาบันราชการ หรือการดำเนินกิจการของรัฐที่เกี่ยวข้องกับระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่กระจายอยู่ทั่วกรุงเทพฯ โดยที่ดินบางแห่งทางรัฐไม่ได้ใช้งานจึงได้มีการนำมาสัมปทานให้เอกชนทำสัญญาเช่าเพื่อดำเนินกิจการต่างๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน
เมื่อรู้เรื่องความหมายของสีผังเมือง และพื้นที่ทำเลที่ตั้งสถานที่ที่ต่างๆ แล้ว
ก็สามารถนำมาใช้ในการประกอบการตัดสินใจในการเลือกทำเลสำหรับทำธุรกิจร้านค้าได้เลย
เรียบเรียงโดย : V45 GROUP
Comments